“สลิ้งฉีดยา” คืออุปกรณ์ชิ้นสำคัญทางการแพทย์เพื่อใช้ประกอบการรักษาโรคด้วยการนำตัวยาเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย ซึ่งถูกผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดด้วยกัน แล้วเรารู้หรือไม่ว่าสลิ้งฉีดยาแต่ละขนาดนั้นเหมาะกับการใช้งานแบบไหน และหากเราจำเป็นจะต้องใช้งานควรจะเลือกอย่างไร บทความนี้จะพามาไขข้อข้องใจนี้กัน

การให้ยารักษากับผู้ป่วยผ่านการฉีดยา เป็นวิธีที่ยาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วกว่าการให้ยาด้วยวิธีอื่น สิ่งสำคัญในการให้ยาฉีด คืออุปกรณ์ที่ใช้อย่างเข็มฉีดยาและสลิ้งฉีดยา โดยในการให้ยาในแต่ละครั้ง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงปริมาณของยาให้เหมาะสมด้วยการเลือกใช้สลิ้งฉีดยาตามขนาดที่ถูกต้อง ในบทความนี้ ONCE Medical จึงมีเกร็ดความรู้ในเรื่องของสลิ้งฉีดยาว่ามีขนาดเท่าไหร่บ้าง และแต่ละขนาดนั้นถูกผลิตขึ้นเพื่อการนำไปใช้งานแบบไหนกันบ้าง

รู้จักกับสลิ้งฉีดยา

สลิ้งฉีดยา (Syringe) หรือ หลอดฉีดยา ถือเป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศัลยกรรม ทันตกรรม หรือสัตวแพทย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญในการนำไปใช้ทางด้านเวชศาสตร์โดยการรักษาที่จำเป็นจะต้องให้ยากับผู้ป่วยด้วยวิธีการฉีดยา สลิ้งฉีดยาเป็นอุปกรณ์ที่แยกส่วนกับตัวเข็มฉีดยา โดยการใช้งานตามแต่ละครั้งจะต้องเลือกใช้งานตามปริมาณและขนาดที่เหมาะสม ผู้ใช้งานจึงต้องระมัดระวังในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพื่อป้องกันความผิดพลาดและอาการแทรกซ้อนที่อาจตามมาของผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการฉีดยา เป็นเหตุผลให้มีการผลิตหัวเข็มและสลิ้งฉีดยาหลากหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานด้านต่างๆ  ซึ่งสลิ้งฉีดยาหลักๆ แล้ว ปัจจุบันมีการผลิตขึ้นจากวัสดุด้วยกันสองชนิดนั่นก็คือ

  • สลิ้งฉีดยาแก้ว คือ สลิ้งที่ผลิตขึ้นจากวัสดุแก้ว โดยตัวสลิ้งหรือหลอดฉีดยาชนิดนี้จะเป็นแก้วใสทั้งหมด มีข้อดีที่สามารถทนต่ออุณหภูมิได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส จึงสามารถนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง โดยการนำไปฆ่าเชื้อด้วยการต้มก่อนทุกครั้ง อย่างไรก็ตาม สลิ้งแก้วไม่นิยมนำมาใช้เพื่อการรักษาด้วยการฉีดยา เพราะเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงเหมาะกับการใช้งานแบบที่ไม่ต้องใช้หัวเข็ม เช่น การนำไปใช้ตวงของเหลวและเตรียมสารละลายเพื่อการทดลอง เพราะสามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีบางชนิดได้ดี เหมาะกับการใช้งานในห้องปฏิบัติการ อุตสาหกรรม และปศุสัตว์ อีกทั้งสามารถใช้งานทั่วไปอย่างการวัดปริมาตรในการป้อนยาเด็กเล็ก การล้างจมูก วัดปริมาตรอาหารและยาสำหรับสัตว์ได้
  • สลิ้งฉีดยาพลาสติก ผลิตขึ้นจากพลาสติกชนิดใช้แล้วทิ้ง (Disposable syringe) ถูกจัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ในกระบวนการวินิจฉัยและรักษา จึงได้รับความนิยมมากกว่าสลิ้งแบบแก้วและเหมาะในการนำมาใช้ทางด้านเวชศาสตร์การรักษาด้วยการฉีดยาให้กับผู้ป่วย หรือใช้ในกรณีที่จะต้องเก็บเลือดของผู้ป่วยสำหรับเป็นตัวอย่างเพื่อนำไปวิเคราะห์และวินิจฉัยทางการแพทย์ต่อไป เพราะสลิ้งชนิดนี้เป็นแบบใช้แล้วทิ้งจึงลดอัตราความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับผู้ป่วยได้ดี

 

ส่วนประกอบของสลิ้งฉีดยา

ก่อนที่เราจะจะไปรู้จักกันว่าสลิงมีกี่ขนาด มาดูกันก่อนสักเล็กน้อยว่าสลิ้งฉีดยามีองค์ประกอบอะไรบ้าง ซึ่งในสลิ้งฉีดยาจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่

  • ส่วนกระบอกสูบ: ส่วนสำคัญส่วนแรกของสลิ้งฉีดยา ถูกผลิตด้วยกระบวนการขึ้นรูปหลอดโดยใช้วัตถุดิบสารตั้งต้นพลาสติกชนิด Polypropylene สำหรับสลิ้งแบบใช้แล้วทิ้ง หรือแก้วในรูปเม็ดหรือผง ด้วยการนำเข้าเครื่องอัดรีด เข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปให้เป็นทรงกระบอก และส่วนสำคัญอีกอย่างบนหลอดสลิ้งคือการพิมพ์เครื่องหมายปริมาตรบนหลอด โดยใช้เครื่อง Syringe Printing Machine ที่จะต้องมีความแม่นยำสูงจากการสอบเทียบ เพื่อพิมพ์ขีดและตัวเลขในตำแหน่งที่ถูกต้อง ก่อนที่ตัวหลอดจะถูกประกอบเข้ากับส่วนอื่นๆ ต่อไป
  • ส่วนก้านสูบ: ผลิตขึ้นด้วยวัสดุตั้งต้นพลาสติกชนิด Polypropylene ด้วยเครื่องชนิดพิเศษ Syringe Injection Molding Machine เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนจึงต้องขึ้นรูปด้วยการฉีดจากเครื่อง

ส่วนยางติดปลายก้านฉีด: แตกต่างจากส่วนอื่นๆ โดยผลิตขึ้นจากยางพารา ก่อนจะนำชิ้นส่วนของยางมาประกอบเข้ากับก้านสูบเพื่อใช้งานได้ต่อไป

สลิ้งฉีดยามีขนาดไหนบ้าง แต่ละขนาดเหมาะกับการใช้งานแบบไหน

ขนาดของสลิ้งฉีดยาและการใช้งาน

ปัจจุบันสลิ้งฉีดยาถูกผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาด จนอาจทำให้หลายคนสงสัยว่า จริงๆ แล้วสลิงฉีดยามีกี่ขนาดกันแน่ โดยทั่วไปแล้ว สลิ้งฉีดยาแบบพลาสติกใช้แล้วทิ้งนั้น จะออกแบบให้มีขนาดมาตรฐานตั้งแต่ขนาด 1 มล. 2 มล. 5 มล. 10 มล. และ 50 มล. แต่ยังมีขนาดอื่นๆ ที่ถูกผลิตขึ้นด้วย เพื่อความเหมาะสมตามแต่ละกรณีในการใช้งานทางการแพทย์นั่นเอง อาทิเช่น สลิ้งฉีดยาทั่วไป สลิ้งฉีดยาสำหรับฉีดสารอินซูลิน (Insulin) สลิ้งฉีดยาวัคซีน สลิ้งฉีดยาชาหรือยาสลบ เป็นต้น โดยในที่นี้จะมาอธิบายการใช้งานสลิ้งในเรื่องของการฉีดยา ซึ่งเป็นกรณีที่สลิ้งมีความจำเป็นเป็นอันดับต้นๆ

สำหรับสลิ้งฉีดยาที่ใช้ในการฉีดวัคซีนนั้น อาจมีการเลือกใช้ตั้งแต่ขนาดบรรจุ 1 และ 3 มิลลิลิตร ที่สามารถถอดเปลี่ยนหัวเข็มได้ตามความเหมาะสม โดยจะต้องพิจารณาการใช้หัวเข็มทั้งสำหรับการฉีด และการดูดวัคซีนหรือยาให้เหมาะสมด้วย เนื่องจากยาหรือวัคซีนบางชนิดจำเป็นต้องมีการดูดหลายครั้งนั่นเอง สำหรับการฉีดยานั้นแบ่งได้ตามนี้

  1. การฉีดยาเข้าชั้นผิวหนัง (ID : Intradermal Injection) เพื่อวัตถุประสงค์ในการทดสอบปฏิกิริยาของร่างกายต่อยาปฏิชีวนะ และทดสอบภูมิแพ้ จำเป็นจะต้องใช้สลิ้งขนาด 1 มิลลิลิตร (Tuberculin Syringe) และต้องใช้คู่กับเข็มเบอร์ 25-27 G ความยาว 1/2 – 2/3 นิ้ว เพื่อใช้ฉีด และเข็มเบอร์ 18 – 21 G เพื่อใช้ดูดยา
  2. การฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (SC : Subcutaneous Injection) เพื่อวัตถุประสงค์ให้ยาดูดซึมได้ดีในชั้นไขมัน ปริมาณยาที่ใช้ฉีดไม่เกิน 2 มิลลิลิตร จึงจะต้องใช้สลิ้งขนาด 2 มิลลิลิตร คู่กับเข็มเบอร์ 24 G หรือ 25 – 26 G ความยาว 1 นิ้ว เพื่อใช้ฉีด และใช้เข็มเบอร์ 18 – 21 G เพื่อใช้ดูดยา
  3. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (IM : Intramuscular Injection) เพื่อวัตถุประสงค์ให้ยาที่ดูดซึมได้ดีในชั้นกล้ามเนื้อ และต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น ใช้สลิ้งฉีดยาตั้งแต่ขนาด 2-5 มิลลิลิตร ตามปริมาณยาที่ต้องการ และใช้คู่กับเข็มเบอร์ 23 – 27 G ความยาว 1 – 1.5 นิ้ว เพื่อใช้ฉีด โดยใช้เข็มเบอร์ 18 – 21 G เพื่อในการดูดยา
  4. การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ (IV : Intravenous injection) วัตถุประสงค์เพื่อให้ยาดูดซึมเข้ากระแสเลือดโดยตรง และออกฤทธิ์ได้ทันที จึงต้องใช้สลิ้งฉีดยาที่มีขนาด 5 – 50 มิลลิลิตร คู่กับเข็มเบอร์ 20 – 24 G ความยาว 1 – 1.5 นิ้ว ตามแผนการรักษา

 

นอกจากนั้น ในกรณีที่อยู่หน้างาน สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามเหมาะสม เพื่อให้การฉีดยาเป็นไปได้อย่างราบรื่นนั่นเอง สุดท้ายนี้สำหรับเกร็ดความรู้เรื่องของสลิ้งฉีดยาที่ ONCE Medical นำมาฝากกัน หวังว่าจะได้รับสาระความรู้กันเบื้องต้นแล้วว่าสลิงฉีดยามีกี่ขนาด และการเลือกใช้แต่ละขนาดนั้นเหมาะกับการใช้งานอย่างไร โดยเฉพาะในด้านของการใช้ฉีดยาหรือวัคซีนนั่นเอง และใครที่กำลังมองหาสลิ้งฉีดยาคุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์เข็มฉีดยาทางการแพทย์จากโรงงานผลิตเข็มฉีดยาของไทย ONCE Medical มีผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจากหลายแหล่งที่น่าเชื่อถือ หากสนใจสามารถติดต่อเราได้หลากหลายช่องทางด้วยกัน

สนใจสั่งซื้อเข็มฉีดยาคุณภาพสูงจาก  Once Medical 

 

สามารถติดต่อได้ผ่านทาง

เบอร์โทร +66(0)34 422 449

Hotline +66(0)89 9009 185

LINE OA @oncemedical

เบอร์โทรสาร +66(0)34 413 514 (Auto)

สำหรับข้อมูลทั่วไป สามารถติดต่อได้ผ่านอีเมล contact@oncemedicaldevice.com