ไซริงค์และเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วถือเป็นขยะติดเชื้อ ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคไปที่อื่นๆ ได้ ทำให้การกำจัดเข็มฉีดยาและไซริงค์ฉีดยาที่ใช้แล้วต้องมีความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว โรงพยาบาลจะมีวิธีการกำจัดเข็มและสลิ้งฉีดยาที่ถูกต้อง แต่สำหรับผู้ป่วยบางโรคหรือมีความจำเป็นต้องฉีดยาด้วยตนเอง การกำจัดเข็มที่ใช้แล้วนั้นมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนั้นในบทความนี้จะพาทุกคนมาทราบวิธีกำจัดเข็มฉีดยาและไซริงค์ที่ใช้แล้วอย่างถูกต้องกัน
ทำไมต้องกำจัดเข็มฉีดยาและไซริงค์ฉีดยาด้วยนะ?
ทางกรมอนามัยได้มีการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ว่า “เข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยานั้นเป็นขยะมูลฝอยติดเชื้อมีคมและทั่วไป” ซึ่งมูลฝอยติดเชื้อมีความหมายว่ามูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือความเข้มข้นสูง เมื่อสัมผัสหรือใกล้ชิดมีโอกาสที่ทำให้เกิดโรคได้ โดยทั้งสองอย่างนั้นหากมีการจัดการไม่ถูกวิธีอาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น การโดนตำ การโดนทิ่มต่ออวัยวะต่างๆ ได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแล้ว ยังทำให้เสี่ยงต่อโรคติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่างๆ ได้อีกด้วย ทำให้ส่งผลกระทบโดยรวมต่อสุขภาพอนามัยของคนทั่วไปและสิ่งแวดล้อม
กล่าวได้ว่า หลังจากใช้เข็มฉีดยาเสร็จแล้ว ต้องมีวิธีการปฏิบัติในการกำจัดให้ถูกต้อง ตั้งแต่การคัดแยก การเก็บรวบรวม การเก็บขนและการกำจัดและทำลายทิ้ง โดยจะต้องเป็นไปตามพ.ร.บ. สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545
ต้องกำจัดเข็มฉีดยาและไซริงค์ที่ใช้แล้วอย่างถูกต้องแบบไหนดี?
สำหรับผู้อ่านท่านไหนที่จำเป็นต้องจัดการเข็มและกระบอกที่ใช้แล้วด้วยตนเองนั้น ทาง ONCE Medical ขอแนะนำว่าวิธีการโดยแบ่งได้ดังนี้
1.การคัดแยก
ขั้นตอนการคัดแยก คือ การแยกขยะมูลฝอยออกจากกัน โดยเมื่อแกะใช้เข็มฉีดยาและกระบอกแล้ว ซองพลาสติกที่ใส่เข็มฉีดยาหรือกระบอกฉีดยา ถือว่าเป็นขยะทั่วไปสามารถทิ้งขยะตามปกติได้เลย อย่างไรก็ตามหากสังเกตแล้วว่าซองพลาสติกที่ใส่เข็มและสลิ้งมีความเสียหายก่อนนำไปใช้ เช่น มีรอยแกะ มีรูรั่ว หรือตัวเลขสลิ้งฉีดยาไม่ชัดเจนเพราะละลายจากความร้อน ตลอดจนมีร่องรอยของการใช้งานแล้ว ต้องไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพราะอาจมีการปนเปื้อนได้ ดังนั้นควรนำไปทิ้งเหมือนดังวิธีการถัดไป
2.การเก็บรวบรวม
เตรียมอุปกรณ์โดยเฉพาะถังพลาสติกหนาที่เข็มไม่สามารถแทงทะลุได้ (Puncture Proof Container) มีฝาปิดมิดชิด ป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้ โดยเมื่อใช้เข็มและไซริงค์ฉีดยาเสร็จแล้ว ไม่ควรดึงเข็มแยกจากกระบอก เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุระหว่างนั้นได้ จากนั้นให้ทิ้งเข็มที่ใช้แล้วลงไปในถังนั้นโดยเฉพาะ บรรจุไม่เกิน 3 ใน 4 ของความจุถัง โดยสถานที่ที่ใช้เก็บรวบรวมเข็มที่ถูกใช้แล้วควรอยู่ห่างจากเด็ก ไม่เก็บไว้ในที่สูง หรือพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
สำหรับถังพลาสติกหนานั้น สามารถเลือกซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนการนำกระปุกที่ใช้แล้ว แกลลอนน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ตลอดจนขวดน้ำที่มีพลาสติกหนามาใส่แทนได้ โดยเลือกอุปกรณ์ที่มีความแข็งแรงทนทาน ซึ่งใครที่ใช้ขวดน้ำพลาสติกอาจจะต้องสวมปลอกเข็มให้เรียบร้อยป้องกันการแทงทะลุ
3.นำมาฝากไว้ที่โรงพยาบาลส่งกำจัดโดยการเผา
สามารถสอบถามไปยังโรงพยาบาลที่เรารับการรักษาหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ว่ามีวิธีการขอฝากกำจัดอย่างไรบ้าง โดยทั่วไปแล้ว เมื่อนำมาฝากกำจัดจำเป็นต้องปิดฝาให้เรียบร้อย โดยติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาชนะ อาจมีการชั่งน้ำหนักขยะ อาจมีการขอชื่อผู้ฝากกำจัด และทางโรงพยาบาลจะมีการสวมถุงสีแดงก่อนจะนำไปเผากำจัด
สรุปได้ว่า การกำจัดอุปกรณ์อย่างเข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยานั้นมีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ปัจจุบันนี้ขยะมูลฝอยติดเชื้อนั้นมีปริมาณมาก ถึงแม้บางส่วนของไซริงค์จะสามารถนำมาใช้ได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี ซึ่ง ONCE Medical ได้เล็งเห็นช่องโหว่ตรงนี้ ทำให้ได้ผลิต ONCE Conventional Syringe ไซริงค์ฉีดยาที่สามารถหักส่วนก้านฉีด (Plunger) หลังใช้ทิ้งได้ โดยส่วนนี้จะสามารถนำไปรีไซเคิลไปผลิตพลาสติกต่อไปได้ รวมถึงยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเผาทำลายขยะติดเชื้อ ซึ่งมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 1 – 50 ml ดูเพิ่มเติม
เกี่ยวกับ ONCE Medical
ONCE Group ได้ก่อตั้งบริษัท ONCE Medical ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเข็มฉีดยาชั้นนำในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลไทย โดยไซริงค์หรือเข็มฉีดยาที่ผลิตจาก ONCE Medical จะมีการผสานเทคโนโลยีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ๆ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยา ได้ผ่านการรองรับมาตรฐานระดับนานาชาติและองค์การอาหารและยาของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะเป็นการพัฒนาให้สุขภาพของผู้ป่วยและยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไทยให้ดีขึ้น
สนใจติดต่อผ่านทาง
เบอร์โทร +66(0)34 422 449
LINE OA @oncemedical
เบอร์โทรสาร +66(0)34 413 514 (Auto)
สำหรับข้อมูลทั่วไป สามารถติดต่อได้ผ่านอีเมล contact@oncemedicaldevice.com